Extra Ventilation for ER


วางเมาท์บนรูปภาพเพื่อจำลองการทำงาน
แตะบนรูปภาพเพื่อจำลองการทำงาน
ระบบ Extra Ventilation for ER
เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับการทำหัตถการ ที่มีการฟุ้งกระจายของ Aerosol สูงภายในห้องฉุกเฉินเช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ (Intubation), การพ่นยา หรือใช้สำหรับสังเกตุอาการผู้ป่วยที่มีอาการของ โรคทางเดินหายใจ (PUI) โดยระบบนี้อาศัยการจำกัดพื้นที่ฟุ้งกระจายให้อยู่ในห้องหรือพื้นที่แยกส่วนที่มีอัตราการระบายอากาศสูงกว่าพื้นที่ด้านนอก
- ออกแบบให้มีการระบายอากาศในพื้นที่แยกส่วนไม่น้อยกว่า 15 ACH เพื่อเจือจางความเข้มข้นของเชื้อโรคที่ฟุ้งกระจายในห้องให้ต่ำที่สุด ตำแหน่งของหัวระบายอากาศถูกวางไว้ตำแหน่งหัวเตียงเหนือศีรษะของผู้ป่วยหรือสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1 เมตร ลักษณะของหัวระบายอากาศออกแบบให้มีลักษณะกว้างเพื่อเพิ่มความสามารถในการระบายอากาศ ความเร็วลมที่ไหลผ่านหัวระบายอากาศออกแบบให้สูงพิเศษเพื่อเพิ่มความสามารถในการระบาย Aerosol ที่ฟุ้งออกมาจากผู้ป่วยขณะทำหัตถการ
- การเติมอากาศในห้องแยกเป็นการเติมอากาศจากด้านนอกห้องเข้าสู่ภายในห้องโดยอัตราการเติมอากาศไม่ควรน้อยกว่า 10-12 ACH ซึ่งอากาศที่เติมควรมาจากด้านนอกห้อง 100% ไม่ควรนำอากาศภายในห้องที่ไม่ผ่านการกรองด้วย HEPA Filter class H13 EN1822:2009 กลับมาใช้ภายในห้อง ตำแหน่งที่เติมอากาศควรตรงข้ามกับฝั่งระบายอากาศบริเวณปลายเตียงหรือด้านทางเข้าห้องเหนือประตูทางเข้า
- ควรเพิ่มเครื่องปรับอากาศในห้อง ER ประมาณ 24,000 BTU เพื่อชดเชยความเย็นที่สูญเสียไปกับการระบายอากาศทิ้งในห้องแยก เครื่องปรับอากาศควรเป็นชนิดต่อท่อลมซึ่งตำแหน่งหัวจ่ายลมเย็นควรอยู่บริเวณเคาน์เตอร์พยาบาล 1 หัวและอยู่บริเวณหน้าห้องแยก 1 หัว ควรจัดให้มีการเติมอากาศบริสุทธ์จากภายนอกห้อง ER เข้ามาผสมกับอากาศฝั่งดูดกลับของเครื่องปรับอากาศหากไม่สามารถหาตำแหน่งเติมอากาศบริสุทธิ์จากนอกห้องได้อาจพิจารณาใช้ HEPA Filter class H13 EN1822:2009 กรองอากาศจากภายนอกห้องก่อนเติมเข้ามาภายในห้อง
- อากาศที่ระบายออกไปทิ้งต้องจัดให้ทิ้งในตำแหน่งที่ปลอดภัยโดยอากาศที่ระบายไม่ผ่านการกรองต้องทิ้งที่ระดับสูงกว่าพื้นที่พักอาศัย 8 เมตร แต่หากผ่านการกรองด้วย HEPA Filter class H13 EN1822:2009 สามารถพิจารณาปล่อยอากาศทิ้งเหนือหลังคาหรือที่ระดับความสูง 3 เมตร เหนือบริเวณพักอาศัย (HEPA Filter ต้องมีใบรับประกันทดสอบการรั่วจากโรงงานผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และติดตั้งในกล่องที่แข็งแรง-ไม่รั่ว)
- ระบบระบายอากาศในห้องแยกต้องสามารถเพิ่มอัตราการระบายอากาศได้อย่างน้อย 2 เท่าหรือไม่น้อยกว่า 30 ACH ขณะที่ทำความสะอาดห้องรอรับเคสถัดไป การใช้อัตราระบายอากาศที่สูงเป็นไปตามมาตรฐานการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่ประสิทธิภาพ 99% โดยอัตราการระบายอากาศที่สูงจะยิ่งทำให้เวลาพักห้องระหว่างเคสสั้นลง (ดูตารางประกอบด้านท้าย)
- ห้องแยกผนังให้เลือกใช้วัสดุที่แข็งแรง เรียบ และทำความสะอาดได้ง่าย โดยด้านหน้าของห้องแยกควรโปร่งใสเผื่อบุคลากรในห้องต้องการความช่วยเหลือในเหตุที่ไม่ปกติ ฝ้าเพดานฉาบเรียบไร้รอยต่อ แสงสว่างในห้องจัดให้เพียงพอกับการทำหัตถการ
TABLE A.1 Air change/hour (ACH) and time required for airborne - contaminant removal.
Air Changes per Hour (ACH) |
Time (mins.) required for removal: | |
---|---|---|
99% efficiency | 99.9% efficiency | |
2 | 138 | 207 |
4 | 69 | 104 |
6 | 46 | 69 |
8 | 35 | 52 |
10 | 28 | 41 |
12 | 23 | 35 |
15 | 18 | 28 |
20 | 14 | 21 |
50 | 6 | 8 |